เมนู

ในข้ออุปมานั้น อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนพระราชา,
วิปัสสนาญาณ 8 เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร, โพธิ-
ปักขิยธรรม 37 เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม, พระราชาทรงอนุ-
โมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่า ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของ
เหล่าอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหารด้วยตามราชธรรมด้วยฉันใด, อนุโลม-
ญาณนี้ก็ฉันเป็น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ 8 ที่เกิดขึ้นปรารภ
สังขารทั้งหลายด้วยสามารถแห่งพระไตรลักษณ์ มีอนิจลักษณะเป็นต้น
เพราะเป็นกิจแห่งสัจจะ และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า. เพราะฉะนั้นญาณนี้ท่านจึง
เรียกว่า อนุโลมญาณ ฉะนี้แล.

10. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส


ว่าด้วย โคตรภูญาณ


ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา โคตฺรภูญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็น
โคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า พหิทฺธา ได้แก่สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้น
ท่านกล่าวว่า พหิทฺธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดาน